วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ครอบครัว

ประวัติส่วนตัว




ชื่อ นางจันทร์เพ็ญ นามสกุล สุขเบญจลาภ

ชื่อเล่น เล็ก เกิด 8 ธันวาคม 2503 ปัจจุบัน อายุ 47 ปี




สมรสกับ ดาบตำรวจ จักรภัทร นามสกุล สระสำราญ อายุ 41 ปี
มีบุตร 2 คน

1.บุตรสาวคนโตชื่อ ด.ญ.ภัทรวิจิตรา นามสกุล สระสำราญ อายุ13 ปีกำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.1/1 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี

2.บุตรชายคนเล็กชื่อด.ช.อดุลย์เดช นามสกุล สระสำราญ อายุ10 ปีกำลังศึกษาอยู่ชั้น ป.4/1 โรงเรียนราษฎร์วิทยาจังหวัดเพชรบุรี

ที่อยู่ 6ซ.5/1ถ.ราชดำเนินต.คลองกระแชงอ.เมืองจ.เพชรบุรี76000โทรศัพท์ 032-410701 มือถือ 087-0545954



วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จิตรกรรม 1

จิตรกรรม ( Painting) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส 1997เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้ เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน

จิตรกรรมไทย

จิตรกรรมไทย (Thai Painting) หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่าง จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านด้านรูปแบบ และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต
ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น
ลายกระหนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น
จิตรกรรมไทย เป็น
วิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดี งามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่มพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงาน จิตรกรรมไทยแบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550

หากศิลปะวัฒนธรรมไม่หยุดนิ่ง งานจิตรกรรมจะเป็นอย่างไร


การได้รับอิทธิพบซึ่งกันและกันของตะวันตกและตะวันออก โดยปกติความเคลื่อนไหวทางศิลปวัฒนธรรมย่อมไม่หยุดนิ่ง จากสังคมหนึ่งถ่ายทอดให้อีกสังคมหนึ่ง วัฒนธรรมทางตะวันตกแผ่อิทธิพลมา ทางตะวันออก งานจิตรกรรมทางตะวันออกก็ได้รับอิทธิพลของจิตรกรรมทางตะวันตก อิทธิพลนี้มีส่วนทำให้งานจิตรกรรมของทางตะวันออกเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งทางความคิดและวิธีการต่าง ๆ ที่เห็นไดัชัดคือ งานจิตรกรรมของทางตะวันออกแต่เดิมนั้น ศิลปินเขียนภาพตามอุดมคติมาก กว่าที่จะยึดถือหลักข้อเท็จจริงตามธรรมชาติ เช่น การจักองค์ประกอบการเขียนภาพคนและสัตว์ มักเขียนตามความรู้สึกนึกคิดของช่าง และเขียนเป็นล ักษณะ 2 มิติ แต่เมื่อได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรมตะวันตกซึ่งเขียนภาพให้แสงเงาและวิธีการเขียนที่แสดงออกในลักษณะ 3 มิติ การเขียนภาพจิตรกรรมของไทยก็เริ่มมีการนำลักษณะเหล่านี้มาใช้ เช่น การเขียนภาพคนให้ถูกต้องทางกายวิภาค และ การเขียนภาพตามหลักของทัศนียวิทยา เป็นต้น
วิวัฒนาการของจิตรกรรมเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม งานจิตรกรรมมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและแนวความคิดเมื่อการสื่อสารและ การคมนาคมมีความเจริญขึ้น

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จิตรกรรมเพชรบุรี

เพชรบุรี
เพชรบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอ่าวไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 123 กิโลเมตร เป็นเมืองเก่าที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยมีชื่อปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งสมัยสุโขทัยและมีหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงสมัยขอมและสมัยทวารวดี ทั้งยังเคยเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญชั้นเมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยาเพชรบุรี มีพื้นที่ 6,255.138 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศทางด้านทิศตะวันตกเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างไทยกับสหภาพพม่า ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบไปจนจดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรีมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำบางกลอย และแม่น้ำบางตะบูน ประชากรจังหวัดเพชรบุรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการทำนา สวนผลไม้ ทำน้ำตาลโตนด เลี้ยงสัตว์ และทำการประมง
จังหวัดเพชรบุรี แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาย้อย อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอบ้านแหลม อำเภอบ้านลาด อำเภอท่ายาง อำเภอแก่งกระจาน และอำเภอชะอำ
อำเภอ เมือง
ถ้ำเขาหลวง ตั้งอยู่ที่อยู่บนเขาหลวง ห่างจากเขาวังประมาณ 5 กิโลเมตร จากเชิงเขามีบันไดคอนกรีตนำสู่ทางลงถ้ำ เขาหลวงเป็นภูเขาขนาดเล็ก มียอดสูงสุดเพียง 92 เมตร มีหินงอกหินย้อย สีสันสวยงาม ภาย ในมีปล่องที่แสง-อาทิตย์สามารถส่องเข้ามาภายในถ้ำได้ ทำให้สวยงามยิ่งขึ้น สำหรับถ้ำเขาหลวง ถือเป็นถ้ำ-ใหญ่และสำคัญที่สุดในเมืองเพชร ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์อัน สำคัญยิ่ง ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า-อยู่หัว โปรดให้สร้างถวาย พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่เสด็จ ประพาสมา ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงโปรดถ้ำเขาหลวงนี้มากโดยทรงบูรณะพระ พุทธรูปเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณ ภายในถ้ำ นี้หลายองค์ด้วยกัน และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างบันไดหินลงไปในถ้ำ ตรงทางเข้าเชิงเขาหลวงนั้น ขวามือมีวัดใหญ่อยู่วัดหนึ่งชาวเมืองเรียกว่า "วัดถ้ำแกลบ" ปัจจุบันคือ "วัดบุญทวี" ซึ่งเป็นวัดใหญ่ น่าชมมาก เพราะท่านเจ้าอาวาสวัดนี้ท่านเป็นช่าง ได้ออกแบบศาลาการเปรียญและ ได้สร้างสำเร็จเป็น ศาลาการเปรียญที่ใหญ่มาก และประตูโบสถ์เป็นไม้สลักลายสวยงามมาก วัดถ้ำแกลบนี้ มีตำนานเล่าว่า ปากถ้ำแกลบที่วัดนี้คือทางเข้าสู่เมืองลับแลอันเป็นเมืองที่มีแต่หญิงสาวทั้งนั้น แต่ก็เป็นเพียง ตำนาน ของชาวเมืองเพชรนับร้อย ๆ ปี มาแล้ว

เขาบันไดอิฐ เป็นเขาขนาดย่อมมียอดสูง ๑๒๑ เมตร อยู่ห่างจากเขาวัง ประมาณ ๒ กิโลเมตร บนเขา บันไดอิฐ มีวัดเก่าสมัยอยุธยา ชื่อวัดเขาบันไดอิฐ บนเขานี้ มีถ้ำอยู่หลายถ้ำ เช่น ถ้ำประทุน ถ้ำพระเจ้าเสือ ถ้ำพระพุทธไสยาสน์ เป็นต้น

หาดเจ้าสำราญ ตั้งอยู่ห่างจากตลาดเมืองเพชรบุรี ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เป็นชายหาด ที่เคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ มาแต่สมัยโบราณ มีประวัติเล่ากันมาว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จมาที่นี่ พร้อมด้วยสมเด็จ พระเอกาทศรถ ทรงพอพระราชหฤทัย ในความงาม ของหาดนี้มาก ทรงประทับแรม อยู่หลายวัน จน ชาวบ้าน เรียกหาดนี้ว่า หาดเจ้าสำราญ มากจนปัจจุบันนี้ ขณะนี้ มีที่พักของกรมพลาธิการทหารบก และบังกาโลของเอกชน จากหาดเจ้าสำราญ ไปทางใต้ประมาณ ๗ กิโลเมตร เป็นชายหาดปึกเตียน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยว อีกแห่งของจังหวัดเพชรบุรี

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี หรือ เขาวัง ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองกระเซง อำเภอเมืองเพชรบุรี นับเป็นสัญญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่ง ของจังหวัด เดิมเขานี้มีชื่อเรียกว่า "เขาสมณะ" หรือ "เขามหาสวรรค์" เนื่องจากมีวัดสมณะ วัดเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ตรงไหล่เขาด้านตะวันออก เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่ได้เคยเสด็จมาประทับที่วัดนี้ และเสด็จขึ้นไปปฏิบัติ ภาวนาบนยอดเขาอยู่เสมอครั้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงทรงโปรดฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้น เพื่อใช้เป็นที่แปรพระราชฐาน และพระราชทานนามว่า "พระราชวังพระนครคีรี" ตัวเขาประกอบ ด้วยยอดใหญ่ 3 ยอด ยอดทางทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของพระราชวัง และเรือนบริวาร ยอด ตรงกลางเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมเพชร ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน เป็นเจดีย์ เก่าที่ได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่ และโปรดฯ ให้สร้างวัดประจำพระราชวังพระนครคีรีที่บนยอดเขา ตะวันออก และพระราชทานนามว่า วัดพระแก้ว อันประกอบด้วยอุโบสถ พระปรางแดง และ ศาลาขนาดย่อมเหมาะกับสภาพภูมิประเทศ

อำเภอเขาย้อย
ถ้ำเขาย้อย ตั้งอยู่ที่บนเขาย้อย อำเภอเขาย้อย ห่างจากตัวเมือง ๒๒ กิโลเมตร ในถ้ำมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ประดิษฐานอยู่ ถ้ำเขาย้อย เคยเป็นที่ประทับ นั่งกรรมฐาน ของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ด้วย

หมู่บ้านลาวโซ่งหรือไทยดำ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย เป็นกลุ่มชน ที่อพยพมาจาก หลวงพระบาง ประเทศลาว และยังรักษาวัฒนธรรมประเพณี ดั้งเดิมเอาไว้ได้ ในวันที่ ๑๐ เมษายนของทุกปี จะมีงานสังสรรค์ และการละเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ

อำเภอบ้านแหลม
แหลมหลวง ตั้งอยู่ในตำบลแหลมผักเบี้ย ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางเดียวกับ ทางไปหาด เจ้าสำราญ โดยแยกซ้ายก่อนถึงหาดเจ้าสำราญเล็กน้อย ลักษณะเป็นปลายแหลมของหาดทรายขาว ที่ยื่นยาวออกไปในทะเลถึง 2 กิโลเมตร เป็นชายทะเลที่สามารถชมได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก

วัดเขาตะเครา ตั้งอยู่ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม สามารถไปได้สองทาง ทางแรกก่อนจะเข้าตัวเมืองเล็กน้อย มีถนนแยกซ้ายมือเข้าสู่วัดเขาตะเครา ระยะทาง 15 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือ เดินทางจากเมืองเพชรไปบ้านแหลม แล้วขับรถต่อไปอีก 6 กิโลเมตร ก็ถึงวัดเขาตะเครา ที่วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สูง 29 นิ้ว หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว เรียกกันว่า หลวงพ่อเขาตะเครา มีชาวเมืองและนักท่องเที่ยวไปกราบไหว้ปิดทองเป็นอันมาก จนกระทั่งบัดนี้แลไม่เห็นพุทธลักษณะเดิม มีประวัติเล่าถึงหลวงพ่อองค์นี้ว่าเป็นพระพี่พระน้อง 3 องค์กับหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา หลวงพ่อบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม บางตำราว่าเป็นพี่น้องกันถึง 5 องค์คือ หลวงพ่อบางพลีใหญ่ และหลวงพ่อวัดไร่ขิงที่นครปฐมด้วย ที่มาของพระพุทธรูปนี้เมื่อปลายสมัยอยุธยา ตอนที่ชาวบ้านแหลมเมืองเพชรหนีพม่า ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ปากน้ำแม่กลอง จนกระทั่งกลายเป็นบรรพบุรุษของชาวสมุทรสงครามในทุกวันนี้นั้น วันหนึ่งชาวประมงบ้านแหลมไปตีอวนที่ปากอ่าว ได้พระพุทธรูปขึ้นมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระยืนปางอุ้มบาตร อีกองค์หนึ่งเป็นพระปางมารวิชัย ชาวบ้านแหลมนำพระยืนไปประดิษฐานที่วัดบ้านแหลมเดี๋ยวนี้ คือ วัดเพชรสมุทรวิหาร กลางเมืองสมุทรสงคราม ส่วนอีกองค์มอบให้ญาติชาวบางตะบูนนำมาประดิษฐานที่ วัดเขาตะเครา อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

อำเภอท่ายาง
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นอุทยานที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีพื้นที่ถึง 2,915 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.8 ล้านไร่ ในเขตอำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ยังคงสภาพเป็นป่าดงดิบตามธรรมชาติที่สมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากแห่งหนึ่ง ได้รับการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2524 โดยกำหนดพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำและป่าเหนือเขื่อนแก่งกระจานเป็นเขตอุทยานฯ เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯ เป็นภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรี สภาพภูมิประเทศเป็นป่าดิบชื้น ยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานฯ คือยอดเขางะงันนิกยวงตอง อยู่ในเขตรอยต่อประเทศพม่าและไทย มีความสูง 1,513 เมตร รองลงมาคือยอดเขาพะเนินทุ่ง ซึ่งมีความสูง 1,207 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากสันเขื่อนแก่งกระจาน มีถนนเลียบออกมาทางซ้ายมือเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ

อำเภอชะอำ
วนอุทยานชะอำ




วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จิตรกรรม


ความสำคัญของจิตรกรรมไทย จิตรกรรมไทยเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแบบสหวิทยาการ ถือได้ว่าเป็นแหล่งขุม ความรู้โดยเฉพาะเรื่องราวจากอดีตที่สำคัญยิ่ง แสดงให้เห็นถึงความเป็นชนชาติที่มี อารยธรรมอันเก่าแก่ ยาวนาน ประโยชน์ของงานจิตรกรรมไทย นอกจากจะให้ความ สำคัญในเรื่องคุณค่าของงานศิลปะแล้ว ยังมีคุณค่าในด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังนี้ 1. คุณค่าในทางประวัติศาสตร์ 2. คุณค่าในทางศิลปะ 3. คุณค่าในเรื่องการแสดงเชื้อชาติ 4. คุณค่าในทางสถาปัตยกรรม 5. คุณค่าในเชิงสังคมวิทยา6. คุณค่าในด้านโบราณคดี 7. คุณค่าในการศึกษาประเพณีและวัฒนธรรม 8. คุณค่าในการศึกษาเรื่องทัศนคติค่านิยม 9. คุณค่าในการศึกษานิเวศวิทยา 10.คุณค่าในการศึกษาเรื่องราวทางพุทธศาสนา 11. คุณค่าในทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว